About Us
Company Profile
บริษัท ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2516 โดย คุณสุเมธ ประสิทธิเมกุล เปิดร้านตีหมุดย้ำ ปั๊มบานพับ ตีน็อตสกรู ภายใต้ชื่อ “กรุงเทพการช่าง” ต่อมาปี 2520 คุณสุเมธขยายกิจการมาเปิดร้านที่ใหญ่โดยการเช่าที่บน ถนนประชาอุทิศนี้ ต่อมาได้ทำการซื้อและปลูกสร้างเป็นอาคารสำนักงานพร้อมโรงงาน
ปี 2516
บริษัท ก่อตั้ง
คุณสุเมธ ประสิทธิเมกุล
เปิดร้านตีหมุดย้ำ ปั๊มบานพับ ตีน็อตสกรู
ภายใต้ชื่อ “กรุงเทพการช่าง”
ปี 2520
ขยายกิจการ
คุณสุเมธขยายกิจการมาเปิดร้านที่ใหญ่โดยการเช่าที่
บนถนนประชาอุทิศนี้ ต่อมาได้ทำการซื้อและปลูกสร้างเป็นอาคารสำนักงานพร้อมโรงงาน
ปี 2522
จำหน่ายเหล็กเพลา
เริ่มจำหน่ายเหล็กเพลาขาวเข้าสู่ตลาดประเทศไทย
ปี 2535
จดจัดตั้งเป็น หจก.
จดจัดตั้งเป็น หจก.ประชาอุทิศค้าลวดเหล็ก
ดำเนินกิจการดูแลลูกค้าเรื่อยมา ทั้งกลุ่มเฟอร์นิเจอร์
กลุ่มอะไหล่ยานยนต์ และกลุ่มอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า
ปี 2552
จดทะเบียนแปรสภาพ
จดทะเบียนแปรสภาพเป็น บริษัทประชาอุทิศค้าลวดเหล็กจำกัด
ปี 2552
ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ
ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO9001 VERSION 2008
ซึ่งเป็นระบบคุณภาพที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการยานยนต์ ทั้งนี้ระบบสามารถทำให้เราตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ด้วยการพัฒนาคุณภาพขององค์กรและสินค้าอย่างต่อเนื่อง
ปี 2561
ทบทวนระบบคุณภาพ
ได้ทบทวนระบบคุณภาพเป็น ISO9001 VERSION 2015
Mission
นำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า
ภายใต้ข้อตกลงในการทำงานและนโยบายของบริษัท
ให้สามารถพัฒนาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง
Autopart industry in Thailand
อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมระดับต้นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา ประเทศทั้งในด้าน เศรษฐกิจ การจ้างงาน การสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาด้านเทคโนโลยี่ด้านยานยนต์
โดยประเทศไทย มีนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2504 จากการนำชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภท Complete Knock Down จากยุโรปและญี่ปุ่น เข้ามาประกอบเป็นรถยนต์
ในปี พ.ศ.2514
รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการผลิตและใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศเพื่อต้องการทดแทนการนำเข้า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจึงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ.2540
ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น กล่าวคือต้องลดจำนวนแรงงาน ลดกำลังการผลิต และปิดกิจการไปบางส่วน แต่อุตสาหกรรมยานยนต์สามารถปรับตัวอย่างรวดเร็ว
โดยมุ่งเน้นการผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวและนักลงทุนมีความเชื่อมั่น ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัว และมีความสามารถในการแข็งขันมากขึ้น จนกระทั่งเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี2554 ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
อ้างอิง : แผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ สถาบันยานยนต์ กระทรวงอุตสาหกรรม
แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ.2555-2574 ประเทศไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์มากว่า 40 ปี และได้รับการยอมรับให้เป็นประเทศฐานการผลิตที่มีคุณภาพ ทั้งยังเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน และเป็นประเทศฐานการผลิตรถปิกอัพไม่เกิน 1 ตันเป็นอันดับ 1 ของโลก เพื่อรักษาศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างจุดยืนที่มั่นคงของประเทศไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ของโลก ได้กำหนดเป้าหมาย ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ไว้ดังนี้ “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศโดยมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่มีความเข้มแข็ง ” โดยผู้ประกอบการในประเทศไทยจะต้องปรับตัว และพัฒนาตนเองให้ทันกับเทคโนโลยี และความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของประเทศไทยให้มากที่สุด เพื่อรักษาจุดยืนของประเทศไทยในการเป็นประเทศฐานการผลิตหลักของเอเชียแปซิฟิค
แนวโน้มของการพัฒนาสินค้ายานยนต์นั้นประเทศไทยจะต้องมุ่งเน้นไปที่สินค้าหลัก 4 ชนิด คือ
- รถปิกอัพไม่เกิน 1 ตัน และรถปิกอัพ ดัดแปลง
- รถยนต์นั่ง ขนาดเล็ก คุณภาพสูง
- จักรยานยนต์
- อะไหล่ยาน ยนต์และ ชิ้นส่วน ตกแต่ง